ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาภาษาไทย
โรงเรียนฝึกหัดครูบุรีรัมย์ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ได้เปิดสอนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ในระยะแรกมี นายบุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดวิชาภาษาไทย ปี พ.ศ. 2519 วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครู ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 หมวดวิชายกฐานะขึ้นเป็นภาควิชาภาษาไทย โดยมีนายพิเชฐ ชัยพร ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2518 ตามประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูบุรีรัมย์เพื่อทำหน้าที่ผลิตครูในระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2521เริ่มเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง (ค.บ.)เป็นรุ่นแรก 4 วิชาเอก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา และได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ให้กับครูประจำการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2521 โดยเรียกว่า “โครงการอบรมครูประจำการ (อคป.)” ปี พ.ศ. 2524 ได้เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) 4 ปี เป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2538 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบครู พ.ร.บ. 2518 เป็นพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ ทำให้สามารถเปิดสอนสาขาวิชาอื่น ๆ ได้นอกจากสาขาทางครุศาสตร์ ปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ภาษาไทย ควบคู่กับการเปิดสอน หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาษาไทยตามลำดับ ดังนี้ นายพิเชฐ ชัยพร นายกตัญญ ชูชื่นนายสงบ บุญคล้อย, นางโสภา ติสองเมือง, นางภูมิจิต เรืองเดช,นางดรรชนี อุบลเลิศ,นางสาวประภาศรี กรโกวิท และนายพิสัณห์ อริยะธุกันต์ ปี พ.ศ. 2547 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การบริหารใหม่ ทำให้ภาควิชาภาษาไทยมีฐานะเป็นสาขาวิชา สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2550 นายบุณย์เสนอ ตรีวิเศษ ปี 2552 นายสุรศักดิ์ กาญจนเพชรรัตน์ ปี 2553 นางดรรชนี อุบลเลิศ นางสาวธัญลักษณ์ นุสายรัมย์ และ ปัจจุบัน มีนายสินทรัพย์ ยืนยาว เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว นักศึกษาจะเป็นผู้มีคุณลักษณะและความรู้ ความสามารถ ดังนี้
- เป็นผู้ที่มีคุณธรรม ปัญญาธรรม มีความรับผิดชอบต่อองค์กรและมีเจตคติที่ดีในการทำงาน
- สามารถแสวงหาแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
- สามารถทำงานเป็นทีมและทำหน้าที่ประสานงานกับวิศวกร ช่างเทคนิค หัวหน้าช่าง หรือผู้เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง อีกทั้งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆทางด้านก่อสร้างหรือที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
- มีความรู้ความสามารถในด้านบริหารและวางแผนงานก่อสร้าง การอ่านแบบก่อสร้าง-เขียนแบบก่อสร้าง-ประมาณราคาก่อสร้าง และการควบคุมงานก่อสร้าง ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
- มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก