ความเป็นมา
ของหลักสูตร
ปัจจุบันโลกให้ความสนใจวิสัยทัศน์และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มากขึ้น
กรอบแนวคิดดังกล่าวมุ่งหวังให้เยาวชนมีคุณลักษณะพิเศษ คือมีทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม มีทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และมีทักษะชีวิตและอาชีพ สถาบันการศึกษาจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ ตื่นตัว ให้ความสำคัญกับแนวคิดดังกล่าว ปรับแผนและนโยบายการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาและวัฒนธรรม
ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพตนเองในทุกด้าน รวมทั้งทักษะทางด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ควบคู่กับการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อใช้ในการสื่อสารและการทำงาน เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง และเป็นฐานแห่งอำนาจในทางเศรษฐกิจและทางการเมืองผู้ใช้บัณฑิตส่วนมากต้องการบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้าง และพัฒนาทักษะดังกล่าว ดังนั้น หลักสูตรฯ จึงจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ของการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | หน่วยกิต |
---|---|---|
กลุ่มวิชาภาษา | 9 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
และเลือกอีก | 3 | หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 94 | หน่วยกิต |
วิชาแกน | 15 | หน่วยกิต |
วิชาเฉพาะด้าน | 71 | หน่วยกิต |
วิชาบังคับ | 51 | หน่วยกิต |
วิชาเลือก | 20 | หน่วยกิต |
วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพหรือสหกิจศึกษา | ไม่น้อยกว่า 8 | หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |